top of page

สรุปองค์ความรู้สุขศึกษาเเละพละศึกษา

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1–3 ชุดนี้ จัดทำ ขึ้นตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำ หรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีเปาหมายให้นักเรียนและครูใช้เปนสื่อในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา นักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่กำ หนดไว้ในหลักสูตร และสาระการเรียนรู้ แกนกลาง พัฒนานักเรียนให้มีสมรรถนะสำ คัญตามที่ต้องการทั้งในด้านการสื่อสาร การคิด การแก้ปญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี ตลอดจนพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ทำ ประโยชน์ให้สังคม เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทยและสังคมโลก ได้อย่างมีความสุข ในการจัดทำ หนังสือเรียนชุดนี้ คณะผู้จัดทำ ซึ่งเปนผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาและการพัฒนา สื่อการเรียนรู้ ได้ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อย่างลึกซึ้ง ทั้งด้านวิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมาย สมรรถนะสำ คัญของนักเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของสาระการเรียนรู้แกนกลาง แนวทางการจัดการเรียนรู้ แล้วจึง นำ องค์ความรู้ที่ได้มาออกแบบหน่วยการเรียนรู้ แต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบด้วยตัวชี้วัดชั้นป ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ ประโยชน์จากการเรียน ลองคิด ลองตอบ (คำ ถามนำ สู่การเรียนรู้) เนื้อหาสาระแต่ละเรื่องแต่ละหัวข้อ รู้ไหมว่า (เรื่องน่ารู้/ความรู้เสริมหรือเกร็ดความรู้) แหล่งสืบค้น ความรู้ เรียนรู้...สู่...ปฏิบัติ (กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้) บทสรุป กิจกรรมเสนอแนะ โครงงาน การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ วัน คำ ถามประจำ หน่วยการเรียนรู้ นอกจากนี้ท้ายเล่มยังมีบรรณานุกรม และอภิธานศัพท์ ซึ่งองค์ประกอบของหนังสือเรียนเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างครบถ้วนตามหลักสูตร การเสนอเนื้อหาและออกแบบกิจกรรมในหนังสือเรียนชุดนี้ ได้จัดทำ ขึ้นโดยยึดแนวคิด การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเปนสำ คัญ โดยคำ นึงถึงศักยภาพของนักเรียน เน้นการเรียนรู้ แบบองค์รวมบนพื้นฐานของการบูรณาการแนวคิดทฤษฎีทางการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เช่น การเรียนรู้โดยใช้สมองเปนฐาน พหุปญญา การใช้คำ ถามแบบหมวกความคิด 6 ใบ การ เรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นการปฏิบัติ การเรียนรู้แบบโครงงาน เปนต้น จัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ เน้นให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาการคิด และพัฒนาการ เรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองและพัฒนาการทางร่างกายของนักเรียน อันจะช่วยให้ นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์และสามารถนำ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ วันได้ หวังเปนอย่างยิ่งว่า หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา ปที่ 1–3 ชุดนี้จะช่วยสนับสนุนให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ด้านทักษะกระบวนการทางสุขศึกษา และพลศึกษาได้เปนอย่างดี และสนับสนุนการปฏิรูปการเรียนรู้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 คณะผู้จัดทำ คําชี้แจง หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1–3 แต่ละเล่ม ได้ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ให้แต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบด้วย 1. ตัวชี้วัดชั้นปี เปนเปาหมายในการพัฒนานักเรียนแต่ละชั้นป ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน การเรียนรู้ มีรหัสของมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปกำ กับไว้หลังตัวชี้วัดชั้นป เช่น พ 1.1 ม. 2/1 (รหัสแต่ละตัวมีความหมายดังนี้ พ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 1.1 คือ สาระที่ 1 มาตรฐานการเรียนรู้ข้อที่ 1 ม. 2/1 คือ ตัวชี้วัดชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2 ข้อที่ 1) 2. ผังมโนทัศนสาระการเรียนรู้ เปนการจัดระเบียบและรวบรวมเนื้อหาแต่ละหน่วย พร้อมแสดงความเชื่อมโยงของเนื้อหาในสาระนั้น ๆ ไว้ด้วย เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจนขึ้น นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เปนผังมโนทัศน์ที่แสดงขอบข่ายเนื้อหาในแต่ละหน่วย การเรียนรู้ โดยมีชื่อหน่วยการเรียนรู้ หัวข้อหลักและหัวข้อรองของเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ นั้น ๆ 3. ประโยชนจากการเรียน นำ เสนอไว้เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนนำ ความรู้ ทักษะจากการเรียน ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ วัน 4. ลองคิด ลองตอบ (คำ ถามนำ สูการเรียนรู้) เปนคำ ถามหรือสถานการณ์เพื่อกระตุ้น ให้นักเรียนเกิดความสงสัยและสนใจที่จะค้นหาคำ ตอบ 5. เนื้อหา เปนเนื้อหาที่ตรงตามสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นป และสาระการเรียนรู้ แกนกลาง โดยแบ่งเนื้อหาเปนช่วง ๆ แล้วแทรกเรียนรู้...สู่...ปฏิบัติที่พอเหมาะกับการเรียน รวมทั้ง มีการนำ เสนอด้วยภาพ ตาราง แผนภูมิ คำ สำ คัญหรือคำ หลักในหน่วยการเรียนรู้นั้นจะแทรกอยู่ใน เนื้อหาโดยการเน้นสีและรูปแบบอักษรให้แตกต่างจากตัวพื้น คำ สำ คัญนี้จะใช้ตัวเน้นเฉพาะคำ ที่ปรากฏคำ แรกในเนื้อหา ไม่เน้นคำ ที่เปนหัวข้อและแผนที่ความคิด เพื่อเปนสื่อให้นักเรียนสร้าง ความคิดรวบยอดและเกิดความเข้าใจที่คงทน 6. รู้ไหมวา (เรื่องนารู้/ความรู้เสริมหรือเกร็ดความรู้) เปนความรู้เพื่อเพิ่มพูนให้นักเรียนมี ความรู้กว้างขวางขึ้น โดยคัดสรรเฉพาะเรื่องที่นักเรียนควรรู้ 7. แหลงสืบค้นความรู้ เปนแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น เว็บไซต์ หนังสือ สถานที่ หรือบุคคล เพื่อให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับเรื่องที่เรียน 8. เรียนรู้...สู...ปฏิบัติ (กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้) เปนกิจกรรมที่กำ หนดไว้เมื่อจบเนื้อหา แต่ละตอนหรือแต่ละหัวข้อ เปนกิจกรรมที่หลากหลาย ใช้แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับ เนื้อหา เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของนักเรียน สะดวกในการปฏิบัติ กระตุ้น ให้นักเรียนได้คิด และส่งเสริมให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม มีคำ ถามเปนการตรวจสอบผลการเรียนรู้ ของนักเรียน ได้ออกแบบกิจกรรมไว้อย่างหลากหลาย และมีมากเพียงพอที่จะพัฒนาให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ตามเปาหมายของหลักสูตร 9. บทสรุป ได้จัดทำ บทสรุปไว้เปนผังมโนทัศน์เพื่อเปนการทบทวนความรู้หรือการเรียนรู้ กว้าง ๆ อย่างรวดเร็ว 10. กิจกรรมเสนอแนะ เปนกิจกรรมบูรณาการทักษะที่รวมหลักการและความคิดรวบยอด ในเรื่องต่าง ๆ ที่นักเรียนได้เรียนรู้ไปแล้วมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม 11. โครงงาน เปนข้อเสนอแนะในการกำ หนดให้นักเรียนปฏิบัติโครงงาน โดยเสนอแนะ หัวข้อโครงงานและแนวทางการปฏิบัติโครงงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ชั้นปของหน่วยการเรียนรู้นั้น เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การวางแผน และการแก้ปญหาของนักเรียน 12. การประยุกตใช้ในชีวิตประจำ วัน เปนกิจกรรมที่เสนอแนะให้นักเรียนได้นำ ความรู้ ทักษะ ในการประยุกต์ความรู้ในหน่วยการเรียนรู้นั้นไปใช้ในชีวิตประจำ วัน 13. คำ ถามประจำ หนวยการเรียนรู้ เปนคำ ถามแบบอัตนัยที่มุ่งถามเพื่อทบทวนการเรียนรู้ ของนักเรียน 14. ท้ายเลม ประกอบด้วยบรรณานุกรมและอภิธานศัพท์ 14.1 บรรณานุกรม เปนรายชื่อหนังสือ เอกสาร หรือเว็บไซต์ที่ใช้ค้นคว้าอ้างอิงประกอบ การเขียน 14.2 อภิธานศัพท เปนการนำ คำ สำ คัญที่แทรกอยู่ตามเนื้อหามาอธิบายให้ความหมาย และจัดเรียงตามลำ ดับตัวอักษร เพื่อความสะดวกในการค้นคว้า

bottom of page